กรวดน้ำ

การกรวดน้ำเป็นพิธีการสำคัญที่อยู่คู่กับเราคนไทยมาช้านาน โดยมักจะทำหลังการใส่บาตร ถวายสังฆทาน ทำบุญเลี้ยงพระ หรือในพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราทำให้เจ้ากรรมนายเวร ญาติพี่น้อง และสรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลกใบนี้ด้วยการรินน้ำลงพื้นดิน หรือหากมีภาชนะรองรับก็ให้นำน้ำในนั้นไปเทลงพื้นดินหรือโคนต้นไม้อีกที โดยพิธีการนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นเรื่องราวหลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทำบุญเลี้ยงพระเสร็จ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้พระเจ้าพิมพิสารทรงหลังทักษิโณทก หรือกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไป และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พิธีนี้ก็กลายเป็นสิ่งที่สิ่งที่สืบทอดทำมาจนถึงปัจจุบัน

ทำบุญไหว้พระ

ทุกวันนี้ ประเภทของการกรวดน้ำแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบเปียกและแบบแห้ง

– แบบเปียกจะใช้น้ำเป็นสื่อ โดยรินน้ำลงในภาชนะรองรับพร้อมกับท่องบทสวด อุทิศผลบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ
– แบบแห้งจะไม่ใช้น้ำ แต่ใช้วิธีการพนมมืออธิษฐาน และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

นอกจากประเภทของการกรวดน้ำที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ควรรู้ดังต่อไปนี้

1. การอุทิศผลบุญ

แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่

– อุทิศเจาะจง โดยพูดหรือนึกถึงชื่อของผู้รับผลบุญ เช่น ชื่อชื่อแม่ ชื่อพี่น้อง หรือชื่อคนรู้จัก เป็นต้น
– อุทิศไม่เจาะจง โดยจะพูดรวม ๆ เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

2. การใช้น้ำกรวดให้ผู้ตาย

ไม่ได้หมายถึงส่งน้ำให้ผู้ตายได้ดื่มกิน แต่คือการใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยานในการอุทิศส่วนกุศล โดยน้ำที่ใช้ ควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีกลิ่นและสี ควรเทลงในที่สะอาดด ไม่เทลงที่สกปรก


สั่งพวงหรีด ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จัดส่งฟรี ถึงศาลา สั่งเลย


3. ช่วงเวลาที่ควรกรวดน้ำคือระหว่างที่พระอนุโมทนา

โดยเริ่มรินน้ำและนึกถึงผู้ที่เราต้องการอุทิศส่วนบุญให้ตอนที่พระเริ่มสวดว่า “ยะถา…” และรินไม่ให้น้ำขาดสายจนถึงบทที่ว่า “มะณิโชติระโส ยะถา” เมื่อพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพีติโย…” ให้พนมมือรับพรจนจบ หรือหากเป็นการใส่บาตรก็สามารถทำได้ภายหลัง โดยท่องบทสวดดังต่อไปนี้ “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุข สุขใจเถิดฯ” หรือสวดเป็นภาษาไทยได้ว่า “ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของ ข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

4. ระหว่างกรวดน้ำไม่ควรเอามือหรือนิ้วไปขวางทางน้ำไหล

เพราะถือว่าเป็นการปิดกั้นกระแสบุญไม่ให้ไหลไปหาผู้รับอย่างสะดวก และไม่ควรเกาะตัวกันเป็นกลุ่ม หรือแตะต่อกันเป็นทอด ๆ แต่ให้เจ้าภาพหรือประธานเป็นผู้รินน้ำเพียงคนเดียว ส่วนคนอื่น ๆ ให้พนมมือตั้งใจอุทิศส่วนบุญ

5. ควรทำจิตใจให้สงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่านในระหว่างการกรวดน้ำ

และไม่ต้องกังวลว่าพระจะสวดจบบทก่อน เพราะการอุทิศส่วนบุญจำเป็นต้องตั้งจิตให้แน่วแน่เข้าไว้

หากทำครบตามทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็ถือว่าการกรวดน้ำเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ผลบุญที่ได้ทำจะส่งมาหาทั้งตัวเราและผู้ที่เราระลึกถึง ข้อสำคัญเลยคือ นอกจากพ่อแม่พี่น้อง เจ้ากรรมนายเวรแล้ว อย่าลืมอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้สรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ด้วยนะคะ

 

ขอบคุณที่มาจาก https://hilight.kapook.com , http://www.onab.go.th , http://dharma.thaiware.com

ร้านพวงหรีด หรีด ณ วัด ตั้งใจที่จะเป็นตัวแทนส่งต่อความอาลัยให้โดยการส่งพวงหรีดดอกไม้สด เพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติเจ้าภาพงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *