ทำบุญเลี้ยงพระ

          การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นหนึ่งในกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่เราคนไทยคุ้นชินกันมากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจมีบางคนที่ไม่เคยเป็นเจ้าภาพในงาน ทำให้ไม่รู้ว่าขั้นตอนในพิธีมีอะไรบ้าง และควรเตรียมความพร้อมอย่างไร เนื่องจากพิธีนี้มีขั้นตอนละเอียด สามารถทำได้ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล รวมทั้งสามารถเลือกได้ว่าจะจัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระแบบนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็น หรือที่เรียกกันว่า สวดมนต์เย็น และในวันรุ่งขึ้นก็ถวายภัตตาหารที่เรียกว่าเลี้ยงพระเช้า หรือถ้าทำในเวลาเพลก็เรียกว่า เลี้ยงพระเพล ซึ่งใครที่มีเวลาน้อยก็สามารถทำพิธีพร้อมกันในวันเดียวได้ในตอนเช้าหรือตอนเพล โดยหรีด ณ วัด ได้รวบรวมขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธีดังต่อไปนี้

1. กำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระ 2. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ 3. เตรียมสถานที่ละอุปกรณ์ 4. เตรียมเครื่องรองรับพระสงฆ์ 5. ถวายภัตตาหารเช้า หรือ ถวายเพล 6. ถวายสังฆทาน 7. กรวดน้ำ

ทำบุญเลี้ยงพระสงฆ์


สั่งพวงหรีด ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่งฟรี! ถึงศาลา


กำหนดวันทำบุญเลี้ยงพระ

คนส่วนใหญ่มักเลือกทำบุญโดยกำหนดวันจากฤกษ์ดีหรือฤกษ์สะดวก และหากเจ้าภาพเลือกวันฤกษ์ดีต้องเตรียมความพร้อมด้วยการขอนิมนต์พระล่วงหน้า ไม่อย่างนั้นพระสงฆ์อาจติดกิจนิมนต์งานอื่นทำให้ไม่สามารถมางานของเราได้  

อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

ปกติแล้วการนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญเลี้ยงพระจะนิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคี่ เช่น 5, 7 หรือ 9 โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ว่าไม่ต่ำกว่า 5 รูป แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนข้างมาก ยกเว้นในงานแต่งที่นิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคู่ เนื่องจากแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระมาในจำนวนที่เท่ากันนั่นเอง และในการนิมนต์พระต้องแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นพิธีอะไร แจ้งสถานที่จัดงาน จำนวนพระสงฆ์ที่ต้องการนิมนต์ และวิธีการเดินทางว่าจะให้พระสงฆ์เดินทางมาเองหรือมีรถรับ-ส่ง  

เตรียมสถานที่และอุปกรณ์

เนื่องจากพิธีทำบุญเลี้ยงพระเป็นพิธีมงคลจึงควรเตรียมสถานที่ให้สะอาด เรียบร้อย กำหนดมุมที่วางโต๊ะหมู่บูชา โดยต้องเป็นมุมที่ไม่มีอะไรแขวนอยู่เหนือศีรษะของพระสงฆ์ และต้องหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ ยกเว้นถ้าพระสงฆ์นั่งต้องให้มีพระพุทธรูปอยู่ทางฝั่งซ้ายมือ และหันหน้าไปทางทิศเหนือ  

เตรียมเครื่องรองรับพระสงฆ์

ตามประเพณีที่ทำสืบต่อกันมา เครื่องรองรับพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะเป็นหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน และหากเจ้าภาพต้องการให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ก็ต้องเตรียมภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ไว้ด้วย โดยจะต้องวางไว้ทางขวามือของพระรูปนั้น ๆ และประเคนตั้งแต่ข้างในออกมาข้างออก  

ถวายภัตตาหารเช้า หรือ ถวายเพล

หากทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน และเจ้าภาพที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็นจะมีการถวายภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น โดยจะจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับเย็นวาน ซึ่งพระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง หรือถ้าถวายเพลก็ทำในกรณีเดียวกัน  

ถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน หรือเครื่องไทยธรรมจะทำหลังพระฉันเสร็จ ซึ่งของที่ถวายส่วนใหญ่มักจะเป็นของใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน  

กรวดน้ำ

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนิมนต์พระกลับวัดคือการกรวดน้ำ โดยจะทำหลังการถวายสังฆทานเสร็จ โดยเริ่มกรวดน้ำหลังจากที่พระสงฆ์อนุโมทนา ก่อนจบบทยถา… เมื่อพระบท สพฺพีติโย… ให้พนมมือรับพรเป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นจึงนิมนต์พระกลับ เป็นอันเสร็จพิธีการทำบุญเลี้ยงพระทั้งหมด   ขอบคุณที่มาจาก http://www.dhammathai.org/ , https://www.baanthumboon.com/ , http://www.buddhismth.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *